การป้องกันควบคุมโควิด-19 ระดับชุมชน (1)

2020-03-10 18:22:03 | ไชน่ามีเดียกรุ๊ป
Share with:

圖片默認標題_fororder_p1

ต้นเดือนมีนาคมของทุกปีเป็นช่วง “การประชุมสองสภา” ของจีน แต่ปีนี้แตกต่างจากปีก่อน ๆ คือ ได้มีการเลื่อนกำหนดการ “ประชุมสองสภา” ออกไป เนื่องจาก ปัจจุบันเป็นช่วงเวลาสำคัญในการยับยั้งการแพร่ระบาดของโควิด-19 งานป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาด ต้องรวมกำลังทุกฝ่ายอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตั้งแต่ระดับชุมชน (หมู่บ้าน) หรือ ระดับปฐมภูมิ และระดับท้องถิ่น สมาชิกสภาผู้แทนประชาชนแห่งชาติจีนและสมาชิกสภาปรึกษาการเมืองแห่งชาติจีนทุกระดับพื้นที่ต่างต้องทำงานหนักในการหยุดยั้งโรคระบาด ซึ่งถือเป็นหน้าที่สำคัญ ฉะนั้น จึงมีความจำเป็นต้องเลื่อนการจัด “ประชุมสองสภา” ออกไป วันนี้เรามาคุยกันเรื่องการป้องกันและควบคุมโรคโควิด-19 ในระดับชุมชน (หมู่บ้าน) ซึ่งถือว่าเป็นรากฐานที่มีความสำคัญยิ่ง

ตั้งแต่เกิดการระบาดของโควิด-19 ในเดือนมกราคมเป็นต้นมา รัฐบาลจีนยึดหลักความรับผิดชอบต่อประชาชนจีนและประชาคมโลก ให้ความสำคัญต่อความปลอดภัยของชีวิตและสุขอนามัยของประชาชนเป็นอันดับแรกมาโดยตลอด โดยได้ใช้มาตรการป้องกันและควบคุมรอบด้าน เคร่งครัดที่สุด จนประสบผลเป็นรูปธรรม

ส่วนชาวจีนในชุมชนต่าง ๆ ต่างร่วมทุกข์ร่วมสุข มุ่งมั่นตั้งใจที่จะช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เพื่อผ่านพ้นความยากลำบากนี้ แม้จังหวะชีวิตดูเหมือนจะผิดจากเมื่อก่อน แต่คนส่วนมากก็ปฏิบัติตามคำสั่งของรัฐบาล ตามคำชี้แนะของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยแต่ละวันส่วนใหญ่จะเก็บตัวอยู่ที่บ้านอย่างเงียบ ๆ ยกเว้นเวลาจะต้องออกไปซื้ออาหารและสิ่งของจำเป็น บางคนถึงกับไม่ออกจากบ้านต่อเนื่องกันหลายวัน โดยยึดหลักว่า “การอยู่ที่บ้าน” คือ “วิธีการ หรือ ตัวยาที่ดีที่สุด” ในการป้องกันความปลอดภัยของชีวิต ในขณะที่ไม่มีวิธีอื่น ๆ หรือ ตัวยาอื่นใดที่จะสามารถป้องกันและควบคุมได้

สำหรับผู้ที่กระทำผิดกฎหมาย เช่น จำหน่ายหน้ากากอนามัยเกินราคา ผลิตหน้ากากอนามัยเถื่อน ไม่ใส่หน้ากากอนามัยในที่สาธารณะ  ทางการจีนจะลงโทษสถานหนักด้วยการปรับเงินก้อนใหญ่ หรือ เข้าควบคุมตัว เพื่อยับยั้งการระบาดอย่างเด็ดขาด

圖片默認標題_fororder_p2

“ที่ไหนมีความต้องการ ที่นั่นมีเจ้าหน้าที่ชุมชุน”

การป้องกันและควบคุมโรคระบาดในระดับชุมชน ชาวบ้านต้องปฏิบัติตามข้อบังคับและกฎหมายอย่างเต็มใจ การใช้มาตรการต่าง ๆ  ตั้งแต่ช่วงปลายเดือนมกราคมถึงต้นเดือนมีนาคม เท่าที่เห็นตามชุมชนต่าง ๆ มีดังนี้

  1. ปิดประตูเข้า-ออกชุมชนบางส่วน เพื่อลดจำนวนการเข้า-ออกให้น้อยลง แม้ว่าการเดินอ้อมจะใช้เวลานานกว่า หรือ ไม่ค่อยสะดวก  แต่ชาวบ้านยินดีปฏิบัติตาม
  2. ตั้งด่านตรวจคนเข้า-ออก แจกบัตรเข้า-ออกชุมชน เวลาเข้าไปในชุมชนต้องแสดงบัตรเข้า-ออก พร้อมผ่านการตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย
  3. ที่ด่านตรวจคนเข้า-ออก หากมีผู้ที่กลับจากต่างถิ่น (ข้อสังเกตอย่างหนึ่ง คือ ผู้ที่มีกระเป๋าเดินทางขนาดใหญ่) ก็จะให้ลงทะเบียนผ่าน APP  เพื่อติดตามข้อมูลส่วนบุคคลและให้เก็บตัวที่บ้านเป็นเวลา 14 วันตามข้อกำหนด โดยห้ามออกจากบ้าน หรือ ไปเยี่ยมผู้อื่น

ดังคำขวัญที่ว่า “ที่ไหนมีความต้องการ ที่นั่นมีเจ้าหน้าที่ชุมชุน”  การยับยั้งโควิด-19 ครั้งนี้มีเจ้าหน้าที่ชุมชุนเป็นกำลังสำคัญ เข้าประจำด่านตรวจทุกวันตั้งแต่เช้ายันค่ำ เพื่อตรวจบัตรผ่านเข้า-ออก และตรวจวัดอุณหภูมิของคนในชุมชน

圖片默認標題_fororder_p3_meitu_10

ที่กรุงปักกิ่ง อากาศยังคงหนาวจัดในช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ กระทั่งจนถึงต้นเดือนมีนาคม เช่น ในเดือนกุมภาพันธ์ มีหิมะตกหนักหลายครั้ง บางวันลมแรง อุณหภูมิลดลงมาอยู่ที่ระดับติดลบ  แม้สภาพอากาศเป็นเช่นนี้ แต่เจ้าหน้าที่ชุมชนยังคงปฏิบัติหน้าที่อย่างจริงจัง แสดงความรับผิดชอบต่อชุมชน ต่อสังคม ต่อบ้านเมือง เพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคฯ

เจ้าหน้าที่ชุมชนเหนื่อยมาตั้งแต่ช่วงตรุษจีน เหนื่อยมาต่อเนื่องกันกว่า 1 เดือน แต่ก่อนพวกเขามักทำงานในออฟฟิศสบาย ๆ แต่ช่วงนี้ต้องออกปฏิบัติหน้าที่กลางแจ้งอย่างเหน็ดเหนื่อย พบปะกับชาวบ้านทุกวัน และตอบข้อซักถามต่าง ๆ เช่น สำหรับข้อกำหนดที่ว่า“ผู้คนที่เดินทางกลับจากต่างถิ่น ต้องเก็บตัวที่บ้านเป็นเวลา 14 วัน โดยห้ามออกจากบ้านและห้ามไปเยี่ยมผู้อื่น” ดิฉันมีข้อสงสัยจึงถามเจ้าหน้าที่ชุมชนที่ด่านตรวจว่า

  • "ผู้คนที่เดินทางกลับจากต่างถิ่น ไปจ่ายตลาดได้ไหม?”

“ไม่ได้” เจ้าหน้าที่ชุมชนตอบ

“งั้นสำหรับคนโสด ผู้ที่อยู่คนเดียว หรือ ไม่มีสมาชิกครอบครัวดูแลอาหารการกิน จะทำอย่างไร?” ดิฉันถามต่อ

“ก็ให้พวกเขาติดต่อกับทางชุมชน จะมีเจ้าหน้าที่ช่วยจัดการให้”  เจ้าหน้าที่ชุมชนตอบ

“ดี รับทราบแล้ว”

จากการสอบถามครั้งนี้ ดิฉันจึงได้คำตอบที่แน่ชัดและทราบว่า  เจ้าหน้าที่ชุมชนนอกจากต้องยืนตรวจที่ด่านเข้า-ออกแล้ว ยังมีหน้าที่ในการจัดหาอาหารการกินให้กับผู้คนที่กลับจากต่างถิ่นที่ต้องกักตัวอยู่ในบ้านเป็นเวลา 14 วันตามข้อกำหนดด้วย จึงกล่าวได้ว่า เจ้าหน้าที่ชุมชนทำหน้าที่ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของชาวบ้าน เพื่อความสงบเรียบร้อยของสังคม

(TIM/LING)

  • เสียงข่าวประจำวัน (27-03-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (27-03-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (27-03-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (26-03-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (26-03-2567)

晏梓