ทิเบตแก้ปัญหาความยากจนตามสภาพท้องถิ่น

2020-10-04 08:15:39 | CMG
Share with:

ปี 2020 เป็นปีสุดท้ายที่จีนจะบรรลุเป้าหมายการขจัดความยากจน ด้วยการสนับสนุนของรัฐบาลกลาง มณฑล และเมืองอื่น ๆ ภายใต้การนำของพรรคคอมมิวนิสต์ รวมถึงรัฐบาลทุกระดับในเขตปกครองตนเองทิเบต ประชาชนชนเผ่าต่าง ๆ ในทิเบตค่อย ๆ  ปรับเปลี่ยนตามสภาพท้องถิ่นเพื่อขจัดความยากจนและก้าวสู่ความร่ำรวยในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยอาศัยภูมิประเทศในท้องถิ่น นโยบายระดับชาติ และมือที่ขยันขันแข็งของพวกเขาเอง

การรักษา "น้ำใสเขาเขียว" จนแลก "ภูเขาทองภูเขาเงิน" มาได้

ตรงข้ามแม่น้ำจากยอดเขา Namcha Barwa มีสถานที่เยี่ยมยอดในการชมทิวทัศน์ของภูเขาหิมะและเงาสะท้อนในแม่น้ำ ซึ่งก็คือบ้านโฮมสเตย์แห่งหนึ่งในหมู่บ้านทุนป๋าย ตำบลพ่าย อำเภอหมี่หลิน เมืองหลินจือของเขตทิเบต

เต๋อจี๋ว่างหมู่ ผู้รับผิดชอบของที่นี่ ชาวหมู่บ้านทุนป๋าย เธอเป็นคนเก่งในหมู่บ้านที่มีชื่อเสียง ปี 2016 หลังกลับมายังบ้านเกิด เธอมีความคิดที่จะเปิดโฮมสเตย์ในหมู่บ้าน ก่อนเริ่มลงมือทำธุรกิจในเดือนมีนาคม ปี 2018 "ช่วงแรกของการก่อตั้ง เทศบาลท้องถิ่นช่วยเราแก้ปัญหาเรื่องเงินทุนและการใช้ที่ดิน" เต๋อจี๋ว่างหมู่ กล่าว ปัจจุบัน ธุรกิจโฮมสเตย์ใช้เงินลงทุน 10.45 ล้านหยวน ซึ่งเทศบาลออกทุนให้ 4.5 ล้านหยวน

นางจ้าว หงหยุน หัวหน้าทีมงานเทศบาลประจำหมู่บ้านโส่ซง  ตำบลพ่าย อำเภอหมี่หลิน กล่าวว่า นอกจากความช่วยเหลือด้านเงินทุนแล้ว พวกเขายังช่วยเธอขอสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ หรือ ปลอดดอกเบี้ยตามนโยบายที่เกี่ยวข้อง

เนื่องจากธุรกิจโฮมสเตย์ดีขึ้นเรื่อย ๆ จึงมีชาวบ้านในท้องถิ่นมาทำงานด้วยมากขึ้น ปัจจุบัน ธุรกิจโฮมสเตย์สร้างตำแหน่งงานในหมู่บ้านทุนป๋าย 25 อัตรา โดยจ่ายค่าจ้างรวมเดือนละ 110,000 หยวน  ผลักดันให้ครัวเรือนยากจนที่ขึ้นทะเบียน 7 ครัวเรือน มีรายได้เพิ่มและก้าวสู่ความมั่งคั่ง

ทิเบตแก้ปัญหาความยากจนตามสภาพท้องถิ่น_fororder_西藏圖片2

ตำบลชนเผ่าเหมินปาเล่อ เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของการเพิ่มรายได้จากการพัฒนาการท่องเที่ยว ที่ตั้งตำบลแห่งนี้อยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของอำเภอโช่น่า ทางตอนใต้มีพรมแดนติดกับอินเดียและทางทิศตะวันตกติดกับภูฏาน มีความสูงเหนือระดับน้ำทะเลเฉลี่ย  2,350 เมตร ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์และภูมิอากาศของที่มีเอกลักษณ์ทำให้สามารถปลูกชาที่ราบสูงคุณภาพดี ดังนั้น การท่องเที่ยวและไร่ชาจึงกลายเป็น "รถสองคัน" ที่ขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจในท้องถิ่น

เช่นเดียวกับหมู่บ้านทุนป๋ายและตำบลชนเผ่าเหมินปาเล่อ ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีตัวอย่างมากมายของหมู่บ้านต่าง ๆ ที่สามารถปกป้อง "น้ำใสเขาเขียว" เพื่อแลกกับ “ภูเขาทองภูเขาเงิน” เพราะเทศบาลท้องถิ่นได้เพิ่มกำลังในการสร้างอารยธรรมทางระบบนิเวศและปรับปรุงห่วงโซ่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอย่างค่อยเป็นค่อยไป จึงทำให้เกษตรกรและชาวปศุสัตว์มีรายได้เพิ่มขึ้น

ข้อมูลสถิติที่น่าเชื่อถือที่สุดระบุว่า ในปี 2019 อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในทิเบตรองรับนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างชาติกว่า 40 ล้านคน เพิ่มขึ้น 19% สร้างรายได้ 56,000 ล้านหยวน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปีนี้ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบหนักสุดจากการระบาดของโควิด-19 อย่างไรก็ตาม ในช่วงครึ่งปีแรก ทิเบตยังต้อนรับนักท่องเที่ยวกว่า 8.33 ล้านคน โดยถือเป็นอันดับ 1 ด้านการฟื้นตัวของตลาดการท่องเที่ยวจีน

พัฒนาอุตสาหกรรมที่มีเอกลักษณ์อย่างจริงจัง

นอกจาก "ใกล้ภูเขา กินของที่หาได้แถวนั้น" แล้ว ทิเบตยังพัฒนาอุตสาหกรรมแบบดั้งเดิมอย่างจริงจัง ซึ่งชามไม้ก็เป็นหนึ่งในนั้น                                 

นายจาซีปาจู ช่างฝีมือทำชามไม้เหมินปามู่ เขาเคยหาเลี้ยงชีพด้วยการตัดไม้ ต่อมา เมื่อเกิดความตระหนักถึงการรักษาระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม รวมถึงไม่มีการอนุญาตให้ตัดป่าธรรมชาติอีก จาซีปาจูจึงเปลี่ยนมาเรียนรู้งานฝีมือช่างทำชามไม้ เขาทำงานนี้มา 15 ปีแล้ว จาซีปาจู บอกว่า ช่วงที่ขายดี เขาทำเงินได้ถึง 30,000 หยวนต่อปี

เมื่อเทียบกับชามไม้แล้ว ธูปทิเบตมีชื่อเสียงมากกว่า นายซาง จู ชาวหมู่บ้านเจี๋ยม่าย ตำบลปู้จิ่ว เมืองหลินจือ ช่างทำธูปหอมแบบดั้งเดิม ด้วยการสนับสนุนจากรัฐบาล ในที่สุดนายซาง จูจึงพัฒนาอุตสาหกรรมธูปด้วยเทคนิคใหม่จนก้าวสู่ความร่ำรวยเช่นกัน

ปี 2016 รายได้ของโรงงานธูปทิเบต มีมูลค่า 50,000 หยวน และครอบครัวของนายซางจูก็ได้พ้นจากความยากจน ต่อมาปลายปี 2017 รายได้สุทธิจากโรงงานธูปทิเบตมีมูลค่า 130,000 หยวน ตามข้อตกลงแล้ว เขาได้จ่ายเงินปันผลงวดแรกแก่ครัวเรือนยากจน 6 ครัวเรือนในหมู่บ้านเจี๋ยม่าย จนถึงปลายปี 2019 รายได้สุทธิของโรงงานธูปทิเบตมีมูลค่าเกินกว่า 150,000  หยวน ซึ่งทำให้ซาง จูกลายเป็นตัวอย่างของการขจัดความยากจนในหมู่บ้าน

เท่าที่ทราบ ทิเบตพัฒนาวิสาหกิจชั้นนำทั้งหมด 145 แห่ง รวมถึงองค์กรความร่วมมือมืออาชีพกว่า 10,000 แห่ง อาศัยอุตสาหกรรมที่มีเอกลักษณ์พิเศษ จึงช่วยเหลือประชากรยากจน 288,100 คน ให้พ้นจากความยากจน ทั้งยังเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรและชาวปศุสัตว์มากกว่า 700,000 คน

การย้ายถิ่นฐานเพื่อขจัดความยากจนแบบ "ตรงจุด"

ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ทิเบตปฏิบัติตามกลยุทธ์ขจัดความยากจนอย่างตรงจุดของประธานาธิบดี สี จิ้นผิง รวมถึงปฏิบัติตามประเพณี เพื่อส่งเสริมโครงการขจัดความยากจน โดยใช้การขจัดความยากจนผ่านการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมเป็นทิศทางหลัก พร้อมไปกับถือการโยกย้ายถิ่นฐานจากพื้นที่ที่ไม่น่าอยู่อาศัยเป็นส่วนประกอบสำคัญ ผลักดันอย่างเต็มที่เพื่อให้ชาวทิเบตที่ยากจนหลุดพ้นจากความยากจนให้ได้

"หมู่บ้านแห่งนี้ ทั้งอยู่บนที่สูง บ้านสร้างติดกัน ไม่มีระเบียบ และไม่สะอาด" เมื่อชาวบ้านพูดถึงหมู่บ้านจาจ๋า อำเภอโช่เหม่ย เมืองชานหนานของเขตทิเบต ก็มักจะอธิบายเช่นนี้ หมู่บ้านจาจ๋าตั้งอยู่บนที่ราบสูง มีความสูงเหนือระดับน้ำทะเลเฉลี่ย 4,600 เมตร บริเวณที่อยู่อาศัยจึงมีความลาดชัน ถนนคับแคบ และมีทางโค้งหลายแห่ง การสร้างบ้านจึงแน่นมาก ประกอบกับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่ไม่ค่อยดี วันขึ้นปีใหม่ ปี 2018 ประชากร 788 คน ใน 169 ครัวเรือน ย้ายออกจากบ้านเก่าไปยังที่อยู่ใหม่ ในจำนวนนี้ 79 ครัวเรือน รวม 290 คน ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นประชากรยากจน

เดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ชาวบ้านบนยอดเขาอำลาบ้านเก่าที่ใกล้พังและไม่น่าอยู่ โดยย้ายลงมายังบ้านใหม่ซึ่งสามารถใช้ชีวิตได้อย่างสะดวกสบาย บรรยากาศใหม่ของหมู่บ้านจาจ๋าเป็นเพียงส่วนเล็ก ๆ ของการย้ายถิ่นฐานของชาวทิเบตเพื่อขจัดความยากจนและช่วยให้ผู้ยากไร้มีชีวิตที่ดีขึ้น

ทิเบตแก้ปัญหาความยากจนตามสภาพท้องถิ่น_fororder_西藏圖片1

นายหวัง เหวิน เจ้าหน้าที่ทีมงานชี้นำการพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อขจัดความยากจน อำเภอหลงจื่อ กล่าวว่า การย้ายถิ่นฐานไปยังที่ที่น่าอยู่เพียงอย่างเดียว ไม่สามารถประกันให้ประชากรพ้นจากความยากจนได้ ขณะที่ การพัฒนาอุตสาหกรรมเป็นวิธีการแก้ไขที่ตรงจุดและมีประสิทธิภาพสูงสุด นอกจากนี้ ยังช่วยเพิ่มโอกาสการทำงานในพื้นที่ยากจนและช่วยให้ประชาชนหางานทำได้อย่างตรงจุด ทั้งยังเป็นแผนพัฒนาในระยะยาว ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา รัฐได้ลงทุน 51,604,800  หยวน เพื่อสร้างโครงการ "ตะกร้าผัก" ในอำเภอหลงจื่อ ซึ่งไม่เพียงแต่แก้ปัญหาอาหารในท้องถิ่นเท่านั้น หากยังช่วยสร้างโอกาสการทำงานมากมายแก่คนในท้องถิ่นด้วย

จนถึงปัจจุบัน ทิเบตอพยพประชากรยากจนที่ขึ้นทะเบียนแล้ว  266,000 คน คิดเป็นเกือบ 1 ใน 10 ของจำนวนเกษตรกรและชาวปศุสัตว์ทั้งหมด และมากกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนประชากรยากจนในทิเบต  ปัจจุบัน มีการสร้างชุมชนใหม่แล้ว 953 แห่ง ส่วนที่กำลังก่อสร้างและเกือบแล้วเสร็จมีจำนวน 22 แห่ง ประชากร 257,000 คนย้ายเข้ามาอาศัยยังที่อยู่ใหม่แล้ว ส่วนอีก 9,000 คนที่เหลือจะถูกย้ายมาก่อนสิ้นปีนี้

TIM/LEI/LU

  • เสียงข่าวประจำวัน (19-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (19-04-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (19-04-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (18-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (18-04-2567)

陸永江