ชาติตะวันตกใส่ร้ายจีนประเด็นสิทธิมนุษยชนเพราะมีเจตนาแอบแฝง

2021-03-01 15:39:39 | CMG
Share with:

เป็นเวลานานมาแล้วที่ประเด็นสิทธิมนุษยชนของจีนถูกประเทศตะวันตกบางประเทศใช้เป็นเครื่องมือโจมตี เมื่อเร็ว ๆ นี้ ในที่ประชุมคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนครั้งที่ 46 แห่งสหประชาชาติ ผู้แทนสหรัฐฯ และอังกฤษ เป็นต้น ได้กล่าวหาจีนอย่างไร้เหตุผลอีกครั้ง ใส่ร้ายป้ายสีสภาพสิทธิมนุษยชนในจีน สะท้อนให้เห็นถึงพฤติกรรมหยาบคายที่มีเจตนาแอบแฝงอีกครั้ง

เป็นที่ทราบโดยทั่วไปว่า สิทธิการดำรงชีวิตและสิทธิการพัฒนาเป็นสิทธิมนุษยชนพื้นฐานลำดับต้น ๆ  “รองเท้าเหมาะกับเท้าหรือไม่นั้น มีเพียงผู้สวมใส่เท่านั้นที่รู้” ประชาชนของประเทศนั้นเป็นผู้มีสิทธิออกเสียงมากที่สุดต่อสภาพสิทธิมนุษยชนของประเทศตน

นับตั้งแต่ประเทศจีนใหม่สถาปนาขึ้นเป็นต้นมา จีนยืนหยัดแนวคิดสิทธิมนุษยชนที่ถือประชาชนเป็นศูนย์กลาง ส่งเสริมสิทธิทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมของประชาชนทั่วประเทศอย่างต่อเนื่อง ใช้ความพยายามรักษาความเป็นธรรมและความเที่ยงตรงของสังคม ส่งเสริมการพัฒนารอบด้านของปัจเจกบุคคล ปัจจุบัน พร้อมไปกับการพัฒนาเศรษฐกิจของจีนได้รับผลสำเร็จมากที่สุดในโลก สภาพสิทธิมนุษยชนของจีนก็ได้เข้าสู่ช่วงเวลาที่ดีที่สุดในประวัติศาสตร์  จีนได้ค้นพบหนทางพัฒนาสิทธิมนุษยชนที่สอดคล้องกับสภาพของประเทศตน การเคารพและประกันสิทธิมนุษยชนนั้น ได้กลายเป็นหลักการสำคัญในการปกครองประเทศ ซึ่งความก้าวหน้าด้านสิทธิมนุษยชนของจีน นับวันได้รับการยอมรับจากประชาคมโลกในวงกว้างยิ่งขึ้น

คณะกรรมการสุขภาพและสาธารณสุขแห่งประเทศจีนระบุว่า ปัจจุบัน อายุขัยโดยเฉลี่ยของประชากรจีนเกิน 77 ปีแล้ว จากเดิม 35 ปีในช่วงเพิ่งสถาปนาประเทศจีนใหม่เมื่อ 72 ปีก่อน และค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ(GDP) เฉลี่ยต่อหัวทะลุ 10,000 เหรียญสหรัฐติดต่อกันสองปีซึ่งสูงกว่าระดับเฉลี่ยของประเทศรายได้ปานกลาง นายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีนเพิ่งประกาศอย่างเคร่งขรึมจริงจังเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาว่า ตามมาตรฐานที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ประชากรชนบทเกือบ 100 ล้านคนของจีน ได้หลุดพ้นความยากจนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จีนได้บรรลุภาระหน้าที่อันหนักหน่วงแห่งการขจัดความยากจนสุดขีดด้วยความสำเร็จ ถือเป็นชัยชนะอย่างทั่วด้านของจีนในการทำสงครามต่อสู้กับความยากจน จีนได้สร้างปาฏิหาริย์ในประวัติศาสตร์การแก้ปัญหาความยากจนของมวลมนุษยชาติ

ท่ามกลางการต่อสู้เพื่อป้องกันควบคุมการระบาดของโรคโควิด-19 รัฐบาลจีนยืนหยัดถือสุขภาพและความปลอดภัยทางชีวิดของประชาชนเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ใช้ความพยายามสุดกำลังและทุ่มเทความสามารถอย่างเต็มที่ในการช่วยเหลือผู้ป่วย สามารถหยุดยั้งการระบาดของโควิด-19 และฟื้นฟูการเติบโตทางเศรษฐกิจจีนได้อย่างรวดเร็วที่สุด อีกทั้งเป็นกำลังขับเคลื่อนความร่วมมือต้านโควิด-19 ในขอบเขตทั่วโลกอย่างแข็งขัน จีนตระหนักดีว่าวัคซีนป้องกันโควิด-19 เกี่ยวพันถึงสิทธิในสุขภาพ สิทธิในการดำรงชีวิตและสิทธิในการพัฒนาของมนุษย์ทุกคน จีนกำลังให้ความช่วยเหลือฟรีด้านวัคซีนแก่ 50 ประเทศที่มีความต้องการ และกำลังส่งออกวัคซีนไปยังกว่า 20 ประเทศที่สนใจสั่งซื้อวัคซีนจีน จีนพิทักษ์คุณค่าชีวิตและศักดิ์ศรีของมนุษย์อย่างเต็มที่

ประเทศจีนในปัจจุบันเป็นดินแดนไร้ความปั่นป่วนและหวาดวิตกที่เกิดจากสงคราม ภารกิจต่าง ๆ กำลังได้รับการพัฒนาให้เจริญยิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประชากร 1,400 ล้านคนมีชีวิตอย่างสงบสุขเสรี และนับวันมีความรู้สึกที่ได้ประโยชน์ มีความผาสุกและปลอดภัยมากยิ่งฃึ้น สะท้อนให้เห็นอย่างเต็มที่ว่า แนวคิดเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนของจีนมีผลลัพธ์ที่ดีในทางปฏิบัติและสอดคล้องกับผลประโยชน์พื้นฐานของประชาชนอันไพศาล

ด้วยเหตุนี้จึงเข้าใจได้ไม่ยากเลยต่อคำถามที่ว่า เหตุใดรายงานวิจัยที่ประกาศโดยวิทยาลัยเคนเนดีมหาวิทยาลัยฮาร์ดวาร์ดจึงระบุว่า ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา อัตราความพึงพอใจต่อรัฐบาลของประชาชนจีนจึงสูงถึงกว่า 90%

ในความเป็นจริงแล้ว ประเทศตะวันตกที่เจริญแล้วและมักโจมตีประเทศอื่นในประเด็นสิทธิมนุษยชนนั้น กลับเกิดปัญหาสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรงเสียเองบ่อยครั้ง เช่น สหรัฐฯ ก็เป็นประเทศที่มีปัญหาการเหยียดเชื้อชาติอย่างรุนแรงดำรงอยู่ และเกิดเหตุการณ์ใช้ความรุนแรงค่อนข้างถี่ สถิติบ่งชี้ว่า เฉพาะปี 2020 สหรัฐฯ เกิดเหตุการณ์ดวลปืนที่ยังผลให้มีผู้เสียชีวิตหรือบาดเจ็บกว่า 4  คนถึง 611 ครั้ง ทำให้มีผู้เสียชีวิตรวม 513 คน บาดเจ็บ 2,543 คน ระหว่างการรับมือกับโควิด-19 นั้น นักการเมืองจำนวนหนึ่งของสหรัฐฯ ที่ป่าวร้องการเคารพสิทธิมนุษยชนนั้น ทำเพียงให้ความสำคัญกับผลประโยชน์ทางการเมืองของตนเท่านั้น ไม่ถือความปลอดภัยทางชีวิตของประชาชนเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ไม่ดำเนินการอย่างเหมาะสมกระทั่งใช้มาตรการอย่างสุ่มสี่สุ่มห้า จนนำไปสู่การเสียชีวิตมากถึงหลายแสนคน ซึ่งนับเป็นโศกนาฏกรรมของมวลมนุษยชาติที่น่าสลดใจโดยแท้

สหรัฐฯ ยังเป็นผู้สร้างปัญหาสิทธิมนุษยชนแก่หลายประเทศในโลกด้วย เช่น เมื่อปี 2003 เพื่อบรรลุการควบคุมพลังงานและสถานการณ์ทางการเมืองส่วนภูมิภาค สหรัฐฯ ได้ก่อสงครามอิรักโดยอ้างเหตุผลที่ปั้นแต่งขึ้นมาว่า “อิรักมีอาวุธทำลายล้างสูงในครอบครอง” สงครามครั้งนั้นได้สร้างความปั่นป่วนในทั่วทั้งภูมิภาคตะวันออกกลาง ทำให้ประชาชนอิรักและประเทศอื่น ๆ หลายประเทศในภูมิภาคนี้ตกอยู่ในสภาวะไม่สงบสุขตราบจนถึงปัจจุบัน สิทธิมนุษยชนถูกทำลายอย่างร้ายแรง

อาจมีบางคนถามว่า เมื่อสภาวะสิทธิมนุษยชนของจีนอยู่ในเกณฑ์ดี เหตุใดนักการเมืองประเทศตะวันตกที่มีปัญหาสิทธิมนุษยชนดำรงอยู่อย่างรุนแรงกลับต้องใส่ร้ายป้ายสีจีนในประเด็นสิทธิมนุษยชนเล่า ?

หากจะพูดถึงต้นสายปลายเหตุแล้ว นับตั้งแต่สงครามเย็นสิ้นสุดลง ฝ่ายตะวันตกมีความรู้สึกว่าระบบการเมืองของตนมีความเหนือกว่า จึงมีอคติและหยิ่งยโสต่อทุกระบบการเมืองที่ต่างกันของประเทศอื่นๆ  ตลอดจนกดดันและโจมตีระบบการเมืองอื่น ๆ มาโดยตลอด เพราะฉะนั้น ขอเพียงแต่จีนยังคงเป็นประเทศสังคมนิยมเท่านั้น ฝ่ายตะวันตกก็จะมองจีนเป็นภัยคุกคามและความท้าทายต่อระบบการเมืองตะวันตก บุคคลจำนวนหนึ่งของฝ่ายตะวันตกจึงแปรประเด็นสิทธิมนุษยชนให้เป็นเครื่องมือทางการเมืองในการโจมตีจีน

อีกด้านหนึ่ง ในปีหลัง ๆ มานี้ ควบคู่ไปกับที่จีนยืนหยัดระบบการเมืองของตนเอง การพัฒนาเศรษฐกิจของจีนได้ประสบผลสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่ สถานะระหว่างประเทศและอิทธิพลของจีนนับวันยกระดับสูงยิ่งขึ้น กระทั่งส่งผลกระทบต่อสถานะการครองความเป็น “เจ้าโลก “ ของสหรัฐฯ ได้ในระดับหนึ่ง อีกทั้งรูปแบบการพัฒนาของจีนยังกำลังได้รับการยอมรับและเรียนรู้จากประเทศต่าง ๆ มากยิ่งขึ้นด้วย ปัจจัยเหล่านี้ได้เพิ่มความวิตกกังวลและความไม่สบายใจของประเทศตะวันตกที่มีต่อการพัฒนาก้าวหน้าของจีน บุคคลจำนวนหนึ่งทางตะวันตกจึงไม่ยอมรับข้อเท็จจริงที่สภาวะสิทธิมนุษยชนของจีนกำลังได้รับการพัฒนาก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง การบิดเบือนสภาวะสิทธิมนุษยชนและภาพลักษณ์ของจีนจึงกลายเป็นทางเลือกทางการเมืองของพวกเขา

ปัจจัยดังกล่าวนี้จึงเป็นเหตุผลหลักที่หลายปีมานี้ ชาวตะวันตกจำนวนหนึ่งปั้นน้ำเป็นตัวสร้างเรื่องเท็จเกี่ยวกับฮ่องกงและซินเจียงเป็นต้น เพื่อโจมตีจีนโดยเฉพาะ และทำให้ประเด็นสิทธิมนุษยชนกลายเป็นปัญหาทางการเมืองและเป็นเครื่องมือทางการเมือง ในความเป็นจริงแล้ว แต่ไหนแต่ไรมา เขตซินเจียงไม่มีปรากฏการณ์ “การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์” หรือ “การบังคับใช้แรงงาน” ตามที่ชาวตะวันตกกล่าวอ้างแต่อย่างใด เรื่องเท็จที่น่าสยดสยองดังกล่าวล้วนเป็นการประโคมข่าวทางการเมืองด้วยเจตนาอันเลวร้ายโดยสิ้นเชิง ส่วนกฎหมายรักษาความมั่นคงแห่งชาติในฮ่องกงนั้นเป็นกิจการภายในของจีนล้วน ๆ เป็นมาตรการสำคัญในการพิทักษ์สิทธิมนุษยชน เสรีภาพและผลประโยชน์ของชาวฮ่องกงทั้งหลาย ประเทศใดก็ตามล้วนไม่อาจนิ่งเฉยได้ต่อพฤติกรรมแบ่งแยกดินแดนและสร้างความปั่นป่วน ประเทศตะวันตกไม่มีสิทธิกล่าวหาฮ่องกงในประเด็นสิทธิมนุษยชนตามอำเภอใจ

กล่าวโดยรวมแล้ว ผลลัพธ์แห่งการพัฒนาด้านสิทธิมนุษยชนของจีนเป็นที่ชื่มชมและยอมรับของประชาคมโลกซึ่งมิอาจบิดเบือนและใส่ร้ายป้ายสีได้ การที่ชาวตะวันตกโจมตีจีนในประเด็นสิทธิมนุษยชนนั้น สะท้อนให้เห็นถึงอคติที่ฝังลึกด้านค่านิยมของพวกเขา มีต้นตอมาจากเจตนาแอบแฝงที่มีวัตถุประสงค์เพื่อทำลายความมั่นคงและเสถียรภาพของจีน ตลอดจนยับยั้งการพัฒนาของจีน สิทธิมนุษยชนหาใช่อภิสิทธ์ของประเทศจำนวนไม่กี่ประเทศ ยิ่งไม่ควรกลายเป็นเครื่องมือกดดันประเทศอื่น ๆ ขอแนะให้นักการเมืองประเทศตะวันตกบางประเทศหยุดใส่ร้ายป้ายสีประเทศอื่น เคารพทุกประเทศในการเลือกหนทางพัฒนาสิทธิมนุษยชนด้วยตนเอง ทุกประเทศควรดำเนินการแลกเปลี่ยนความร่วมมือด้านสิทธิมนุษยชนบนพื้นฐานที่เสมอภาคและเคารพซึ่งกันและกัน ร่วมกันขับเคลื่อนภารกิจสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศให้พัฒนาก้าวหน้าไปด้วยดี

YIM/LU

  • เสียงข่าวประจำวัน (19-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (19-04-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (19-04-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (18-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (18-04-2567)

陸永江