เบื้องหลัง“เสื้อกล้ามเก่าขาด”คือความก้าวหน้าแห่ง“เครื่องบินรบจีน”

2021-03-24 13:42:11 | สถานีวิทยุและโทรทัศน์ส่วนกลางของจีน
Share with:

เบื้องหลัง “เสื้อกล้ามเก่าขาด” คือความก้าวหน้าแห่ง “เครื่องบินรบจีน”_fororder_1616475528925_260_959x598

วันที่ 23 มีนาคม เป็นวันครบรอบ 23 ปีการกำเนิด “เครื่องบินรบ J-10” ภาพถ่ายทีมช่างผลิตวิจัยเครื่องบินรบ J-10 ได้รับความสนใจจากชาวเน็ตอย่างมาก

ภายใต้เสื้อกล้ามที่เก่าขาด คือจิตใจมุ่งมั่นอย่างแรงกล้า ที่จดจ่อทุ่มเทกับการผลิตวิจัยเครื่องบินเพื่อชาติ เจ้าหน้าที่ด้านการบินที่ทำงานอุทิศตนอย่างเงียบๆ เหล่านี้ ได้ร่วมกันวาดภาพการบินจีนที่ยิ่งใหญ่แห่งยุคสมัย

ในภาพ คนกลุ่มหนึ่งล้อมวงกัน รอพนักงานบนรถกระบะตักอาหารแจกจ่ายให้พวกเขา สังเกตได้ว่าส่วนใหญ่เป็นคนวัยกลางคน มีผู้สูงวัยผมขาวบ้าง ถ้าหากมองภาพนี้เพียงผิวเผิน คงยากที่จะเชื่อมโยงพวกเขากับกิจการป้องกันประเทศของจีน แต่ความจริงแล้ว คนกลุ่มนี้เป็นเจ้าหน้าที่ผลิตวิจัยเครื่องบินรบ J-10 ที่พักรับประทานอาหารอยู่ข้างเครื่องบินรบ J-10 ในสนามบิน

เบื้องหลัง “เสื้อกล้ามเก่าขาด” คือความก้าวหน้าแห่ง “เครื่องบินรบจีน”_fororder_1616475630050_216_641x388

อีกภาพ ชายสูงวัยที่ขี่จักรยานอยู่คือ นายเซวีย ชื่อโซ่ว เป็นรองผู้บัญชาการใหญ่ฝ่ายผลิตวิจัยเครื่องบินรบ J-10 พวกเขาล้วนเป็นผู้ร่วมให้กำเนิดเครื่องจักรกลยิ่งใหญ่ระดับชาติ คนกลุ่มนี้ใส่เสื้อผ้าธรรมดาๆ กินอาหารธรรมดาๆ แต่ภายใต้เสื้อกล้ามเก่าขาดนี้ คือสันหลังของชาติจีนที่ยืดตรงตระหง่านอยู่

เบื้องหลัง “เสื้อกล้ามเก่าขาด” คือความก้าวหน้าแห่ง “เครื่องบินรบจีน”_fororder_1616479915710_371_498x321

นายซ่ง เหวินชงกับเพื่อนร่วมงานทั้งหมด 300 คน ย้ายถิ่นฐานจากเมืองเสิ่นหยาง เมืองเอกมณฑลเหลียวหนิง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน มายังเมืองเฉิงตู เมืองเอกมณฑลเสฉวน ภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ตอนมาถึงใหม่ๆ ไม่มีทั้งบ้านพักและออฟฟิศ เขาจึงนำเพื่อนร่วมงานช่วยกันสร้างขึ้น รวมถึงปลูกผักด้วยตนเอง

เบื้องหลัง “เสื้อกล้ามเก่าขาด” คือความก้าวหน้าแห่ง “เครื่องบินรบจีน”_fororder_1616480030604_706_630x384

แม้จะไม่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ใดๆ ก็ใช้ลูกคิดคำนวณสร้างเครื่องบินออกมา ไม่มีเงินทุนก็ใช้เงินเดือนของตนทั้งหมดบริจาคอัดฉีดเข้าไป เวลานั้นขาดแคลนเงินทุนมาก ช่างเทคนิคที่โรงงานก็ผลิตโซ่รถจักรยานและกรงนกไปขาย แล้วก็นำมาเป็นทุนผลิตเครื่องบินต่อ คนกลุ่มนี้อดตาหลับขับตานอน เจียดเวลากินอยู่ที่มีเพื่อผลิต “เครื่องบินรบ” ที่เปรียบได้กับ “เครื่องเชิดหน้าชูตา” ของจีน

เบื้องหลัง “เสื้อกล้ามเก่าขาด” คือความก้าวหน้าแห่ง “เครื่องบินรบจีน”_fororder_1616479858674_453_640x360

วันที่เครื่องบินรบ J-10 ทดลองบินด้วยความสำเร็จเป็นครั้งแรก นายซ่ง เหวินชง หัวหน้าผู้ออกแบบเครื่องบินรบ J-10 กับนายเหลย เฉียง นักบินทดสอบ ต่างกอดกันแน่น หนุ่มแกร่งอย่างพวกเขาก็อดน้ำตาไหลไม่ได้

เบื้องหลัง “เสื้อกล้ามเก่าขาด” คือความก้าวหน้าแห่ง “เครื่องบินรบจีน”_fororder_1616476766760_352_592x333

นายเหลย เฉียงกล่าวก่อนทดลองบินว่า ถ้าจะตก ผมก็จะให้ตกที่ลานวิ่ง จะนำเครื่องบินกลับมาให้ได้! หลังจากประสบความสำเร็จแล้ว นักบินทดสอบอันดับแรกของจีนได้ร้องไห้พร้อมกล่าวว่า คุณซ่ง นี่คือเครื่องบินรบที่แท้จริงแล้ว!

เบื้องหลัง “เสื้อกล้ามเก่าขาด” คือความก้าวหน้าแห่ง “เครื่องบินรบจีน”_fororder_1616479998944_590_555x312

เจ้าหน้าที่ฝ่ายการบินรุ่นนี้ ได้ทุ่มเทความพยายามของตนทั้งชีวิต ให้กับการสร้างเครื่องจักรกลยิ่งใหญ่ของชาติ ในสมัยที่ยากลำบากมากที่สุด

เบื้องหลัง “เสื้อกล้ามเก่าขาด” คือความก้าวหน้าแห่ง “เครื่องบินรบจีน”_fororder_1616478215233_137_590x443

ขณะนี้ ชุดกลุ่มเครื่องบินรบ J-10 ของจีนประกอบด้วยรุ่น J-10 A, J-10 B, J-10 C, J-10 S ที่มี 2 ที่นั่ง และ J-10 H ที่กองกำลังทหารอากาศประจำกองทัพเรือใช้อยู่ สมรรถนะหลากหลายของเครื่องบินรบชุดนี้ได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ได้แสดงศักยภาพที่ดีในการฝึกซ้อมภาคสนามและการสู้รบในปฏิบัติการภายในของกองทัพอากาศแห่งกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน เมื่อมองดูทั่วโลกนี่คือการมาถึงขั้นสุดยอดแล้ว

เบื้องหลัง “เสื้อกล้ามเก่าขาด” คือความก้าวหน้าแห่ง “เครื่องบินรบจีน”_fororder_1616478239381_566_650x434

ความสำเร็จไม่ใช่ทำครั้งเดียวก็ประสบได้ แต่เป็นผลจากความมุมานะบากบั่นของเจ้าหน้าที่ด้านการบินของจีนหลายต่อหลายรุ่น ขอแสดงความเคารพต่อเจ้าหน้าที่ด้านการบินที่อุทิศตนอย่างเงียบๆอยู่เบื้องหลัง พวกเขาได้อุทิศทั้งชีวิตเพื่อความก้าวหน้าแห่งการบินจีนอย่างแท้จริง

(Yim/Cui/Patt)

  • เสียงข่าวประจำวัน (19-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (19-04-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (19-04-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (18-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (18-04-2567)

崔沂蒙