บทวิเคราะห์ : อาการ“ยื่นมือยาว”ของลุงแซมต้องเข้ารักษาไม่ช้าก็เร็ว!

2021-04-16 12:22:12 | CRI
Share with:

วันที่ 15 เมษายน สหรัฐกับอิหร่านวางแผนฟื้นการเจรจาโดยทางอ้อม ที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรเลีย เพื่อกอบกู้ข้อตกลงนิวเคลียร์อิหร่านฉบับปี 2015 ซึ่งก่อนหน้านี้หนึ่งวัน นาย Grand Ayatollah Seyyed Ali Khamenei ผู้นำสูงสุดอิหร่านระบุชัดเจนว่า หากสหรัฐต้องการกลับสู่ข้อตกลงนิวเคลียร์อิหร่าน ก็ควรยกเลิกการคว่ำบาตรต่ออิหร่านเป็นอันดับแรก

อนึ่ง ตลอดช่วงกว่า 70 ปีหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สหรัฐดำเนินนโยบายลัทธิก้าวก่ายมาโดยตลอด ด้วยวิธีร้อยแปดพันเก้า ทั้งการรุกรานทางการทหาร การคว่ำบาตร และการปลุกปั่นจลาจล เพื่อรักษาความเป็นมหาอำนาจเชิงสมบูรณ์ต่อโลก

หลังจากรัฐบาลชุดนายโจ ไบเดนเข้ารับตำแหน่ง มีการระบุหลายครั้งว่า จะจัด “สิทธิมนุษยชน” ไว้ใจกลางนโยบายการต่างประเทศของสหรัฐ นักการเมืองสหรัฐที่มักจะพูดติดปากว่า “สิทธิมนุษยชนอยู่เหนืออธิปไตย” มีวัตถุประสงค์เพื่อเดินหน้าลัทธิก้าวก่าย สร้างเหตุการณ์นองเลือดในหลายพื้นที่ทั่วโลก ที่แท้ก็คือเพื่อประโยชน์ของประเทศตนเพียงประเทศเดียว ด้วยเหตุผลง่ายๆประการหนึ่งคือ เมื่ออธิปไตยของประเทศชาติสูญเสียไปแล้ว สิทธิมนุษยชนจะพึ่งพาอะไรมาปกป้อง?

ปฏิญญาสมัชชาสหประชาชาติฉบับปี 1965 ระบุว่า “ประเทศใดก็ตาม และไม่ว่าด้วยเหตุผลใดก็ตาม ล้วนไม่ควรก้าวก่ายกิจการของประเทศอื่นโดยตรงหรือโดยอ้อม ไม่ควรคุกคามประเทศอื่นด้วยมาตรการทางการเมือง การทหาร เศรษฐกิจและอื่นๆ ไม่ควรมีส่วนร่วมในการล้มล้างรัฐบาลประเทศอื่นด้วยวิธีการเป็นผู้ให้การสนับสนุน ผู้สร้าง ผู้ให้ทุน ผู้ปลุกปั่น หรือผู้ให้ท้าย” เทียบกันดูแล้ว  สหรัฐได้กระทำทุกสิ่งต้องห้ามตามที่ระบุไว้ในปฏิญญาสมัชชาสหประชาชาติ

มาถึงช่วงนี้ที่สถานการณ์โควิด-19 ลามไปทั่วโลก สหรัฐยังคงเร่งรัดใช้มาตรการคว่ำบาตรเอกภาคีต่อหลายประเทศ ทำลายความสามัคคีของโลกในการต้านโควิด-19 และซ้ำเติมวิกฤตทางมนุษยธรรมมากขึ้น

การไม่ก้าวก่ายกิจการภายในเป็นหลักบรรทัดฐานของ “กฎบัตรสหประชาชาติ” ค่านิยมของสหรัฐไม่ใช่ค่านิยมสากล กฎเกณฑ์ที่สหรัฐกำหนดไม่ใช่กฎเกณฑ์สากล อาการ “ยื่นมือยาว” ของลุงแซมจำต้องเข้ารับการรักษาไม่ช้าก็เร็ว!

(YIM/LING/CAI)

  • เสียงข่าวประจำวัน (23-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (23-04-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (23-04-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (22-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (22-04-2567)

何喜玲