บทวิเคราะห์ : ความสัมพันธ์จีน-อาเซียนเป็นแบบอย่างแห่งความร่วมมือระดับภูมิภาค

2021-09-21 15:19:41 | ไชน่ามีเดียกรุ๊ป
Share with:

บทวิเคราะห์: ความสัมพันธ์จีน-อาเซียนเป็นแบบอย่างแห่งความร่วมมือระดับภูมิภาค_fororder_3

นับตั้งแต่การสถาปนาความสัมพันธ์คู่เจรจาระหว่างจีน-อาเซียนเมื่อ 30 ปีที่แล้ว จีน-อาเซียนได้ร่วมมือกันพัฒนาและมีผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์ในด้านต่าง ๆ จนกลายเป็นรูปแบบความร่วมมือที่ทรงพลังที่สุดในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก

บทวิเคราะห์: ความสัมพันธ์จีน-อาเซียนเป็นแบบอย่างแห่งความร่วมมือระดับภูมิภาค_fororder_1

ช่วง 30 ปีมานี้ความร่วมมือระหว่างทั้งสองฝ่ายในด้านต่าง ๆ เช่น เศรษฐกิจ การค้า และการแลกเปลี่ยนระหว่างบุคคลมีความคืบหน้าที่โดดเด่น

ข้อมูลล่าสุดจากสำนักงานศุลกากรแห่งชาติจีนปรากฏให้เห็นว่า นับตั้งแต่จีน-อาเซียนก่อตั้งความสัมพันธ์คู่เจรจาใน ค.ศ. 1991 เป็นต้นมา มูลค่าการค้าทวิภาคีระหว่างทั้งสองฝ่ายพุ่งสูงขึ้นจาก 8,360 ล้านดอลลาร์สหรัฐมาเป็น 685,280 ล้านดอลลาร์สหรัฐใน ค.ศ. 2020 โดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีสูงถึง 16.5% ปัจจุบันทั้งสองฝ่ายเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของกันและกัน ทั้งยังเป็นรากฐานสำคัญของความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจในภูมิภาค

บทวิเคราะห์: ความสัมพันธ์จีน-อาเซียนเป็นแบบอย่างแห่งความร่วมมือระดับภูมิภาค_fororder_2

ช่วง 30 ปีที่ผ่านมา ความสัมพันธ์จีน-อาเซียนพัฒนาก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง มีความไว้เนื้อเชื่อใจกันเชิงยุทธศาสตร์เข้มแข็งยิ่งขึ้น มีความร่วมมือรอบด้านลึกซึ้งยิ่งขึ้น และยังมีการดำเนินการที่เป็นรูปธรรมในการสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันอย่างต่อเนื่อง ส่วนการต่อสู้กับโควิด-19 ร่วมกันเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์อันแนบแน่นและจิตวิญญาณในการสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันของทั้งสองฝ่าย

จีน-อาเซียนต่างเป็นพลังสำคัญในการส่งเสริมการค้าเสรีและสนับสนุนกลไกพหุภาคีโลก ปัจจุบันความร่วมมือด้านเศรษฐกิจดิจิทัลระหว่างจีน-อาเซียนพัฒนาเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ความร่วมมือระหว่างสองฝ่ายมีศักยภาพมากยิ่งขึ้น

นับตั้งแต่ข้อตกลงการค้าเสรีจีน-อาเซียนมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการใน ค.ศ. 2010 เป็นต้นมา จากการบูรณาการห่วงโซ่อุตสาหกรรมและห่วงโซ่คุณค่า การค้าสินค้าและบริการระหว่างทั้งสองฝ่ายขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่วนการลงนามในความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership) ซึ่งเป็นข้อตกลงการค้าเสรีใหญ่ที่สุดในโลก เป็นสัญลักษณ์แสดงให้เห็นว่า ความเป็นหนึ่งเดียวทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค กลไกพหุภาคี และการค้าเสรีประสบความสำเร็จครั้งสำคัญ และเพิ่มแรงขับเคลื่อนใหม่อย่างต่อเนื่องแก่ความร่วมมือทวิภาคีและเศรษฐกิจโลก

จีนมองว่า อาเซียนมีความสำคัญอันดับต้น ๆ ในการทูตเพื่อนบ้านและเป็นภูมิภาคสำคัญในการร่วมกันพัฒนาโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางที่มีคุณภาพสูง ในงานมหกรรมแสดงสินค้าจีน-อาเซียน ครั้งที่ 18 และการประชุมสุดยอดธุรกิจและการลงทุนจีน-อาเซียนที่เพิ่งสิ้นสุดลงเมื่อสัปดาห์ที่แล้วที่เมืองหนานหนิง ทางตอนใต้ของจีน มูลค่าการค้า และการลงทุนที่ทำสัญญาแล้วสูงเป็นประวัติการณ์ อยู่ที่ 3 แสนล้านหยวน ปัจจุบันจีน-อาเซียนกำลังอยู่ในจุดเริ่มต้นใหม่ที่จะก้าวหน้าต่อไปยังอนาคตแห่งความสัมพันธ์ทวิภาคีที่ดีงามและรุ่งเรืองยิ่งขึ้น

ในอนาคต จีนจะมุ่งมั่นทำงานร่วมกับอาเซียนต่อไป  เพื่อร่วมกันพัฒนาโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง กระชับความสัมพันธ์หุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์ในระดับที่สูงยิ่งขึ้นและลงลึกความร่วมมือรอบด้านกับอาเซียน เพื่อสร้างประโยชน์แก่ประชาชนทั้งสองฝ่ายและประชาชนทั่วโลก

(tim/cai)

  • เสียงข่าวประจำวัน (29-03-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (29-03-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (28-03-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (28-03-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (28-03-2567)

蔡建新