บทวิเคราะห์ : RCEP เริ่มมีผลบังคับใช้สะท้อนแนวคิดพหุภาคีนิยมและการเปิดกว้างเป็นหนทางที่ถูกต้อง

2022-01-07 13:58:58 | CMG
Share with:

ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ปี 2022 ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ซึ่งมีสมาชิก 15 ประเทศ เริ่มมีผลบังคับใช้กับ 10 ประเทศแล้ว อันได้แก่ ไทย บรูไน กัมพูชา ลาว สิงคโปร์ เวียดนาม จีน ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ และออสเตรเลีย และจะมีผลบังคับใช้กับเกาหลีใต้ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ปีนี้ ส่วนประเทศสมาชิกที่เหลือก็จะทยอยมีผลบังคับใช้ตามมาหลังจากเสร็จสิ้นขั้นตอนการอนุมัติภายในประเทศ

บทวิเคราะห์ : RCEP เริ่มมีผลบังคับใช้สะท้อนแนวคิดพหุภาคีนิยมและการเปิดกว้างเป็นหนทางที่ถูกต้อง

นักสังเกตการณ์มองว่า การที่ RCEP มีผลบังคับใช้นั้น แสดงให้เห็นอย่างทรงพลังว่า แม้ว่าโลกปัจจุบันต้องเผชิญกับความท้าทายต่างๆ แต่พฤติกรรมทวนกระแส เช่น ลัทธิกีดกันทางการค้าและลัทธิเอกภาคีนิยม เป็นต้น ไม่ใช่ความปรารถนาของผู้คนทั้งหลาย เมื่อโลกาภิวัตน์พัฒนามาจนถึงทุกวันนี้ เป็นเวลานานมาแล้วที่โลกได้เข้าสู่ภาวะ “ในคุณมีฉัน ในฉันมีคุณ” ความปรารถนาอันแรงกล้าของประชาคมระหว่างประเทศในการสนับสนุนความร่วมมือและการเปิดกว้างนั้นมิอาจต้านทานได้ การกระทำที่ตัวเองต้องมาก่อน ผูกขาดความได้เปรียบ และปิดประเทศกีดกันภายนอกนั้น มีแต่จะได้ผลลัพธ์ที่ตรงกันข้ามกับเป้าหมายเท่านั้น ในยุคหลังโควิด-19 การเปิดกว้างและการเชื่อมโยงกันเป็นแนวโน้มทั่วไป พหุภาคีนิยม การขยายการเปิดประเทศ และการค้าเสรีเท่านั้น จึงเป็นกระแสและหนทางที่ถูกต้องของโลก

RCEP ครอบคลุมประชากรในโลก 2,200 ล้านคน ยอดมูลค่าทั้งทางด้านเศรษฐกิจและการค้าต่างครองสัดส่วน 30% ของโลก  เป็นเขตการค้าเสรีที่มีประชากรมากที่สุด มีขนาดเศรษฐกิจและการค้าที่ใหญ่ที่สุด และมีศักยภาพในการพัฒนามากที่สุดในโลก เมื่อ RCEP มีผลบังคับใช้แล้ว สินค้ามากกว่าร้อยละ 90 ภายในภูมิภาคจะค่อยๆบรรลุอัตราภาษีศุลกากรเป็นศูนย์ นอกจากนี้ RCEP ได้กําหนดบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องในด้านการค้าภาคบริการ การลงทุน ทรัพย์สินทางปัญญา อีคอมเมิร์ซและอื่นๆ ซึ่งดัชนีชี้วัดเหล่านี้ล้วนอยู่ในระดับนำหน้าของโลก จึงถือเป็นข้อตกลงทางเศรษฐกิจและการค้าที่ครอบคลุม ทันสมัย มีคุณภาพสูง และสะท้อนถึงการอำนวยผลประโยชน์แก่กัน การไหลเวียนของปัจจัยสำคัญทางเศรษฐกิจต่างๆ ภายในภูมิภาคจะราบรื่นมากยิ่งขึ้น และห่วงโซ่อุตสาหกรรม ห่วงโซ่อุปทานและห่วงโซ่คุณค่าจะมีความมั่นคงและได้รับการพัฒนาอีกระดับ

ไม่ว่าการให้สินค้าต่างประเทศ"เข้ามา"มากขึ้น หรือช่วยให้วิสาหกิจภายในประเทศ"ออกไป"มากขึ้น ผลที่ได้รับโดยตรงมากที่สุดจากการบังคับใช้ความตกลง RCEP นั้น คือการส่งเสริมกระบวนการหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวทางเศรษฐกิจในภูมิภาคให้มีความคืบหน้าเร็วยิ่งขึ้น นําตลาดที่กว้างใหญ่ยิ่งขึ้น สภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่มีคุณภาพดียิ่งขึ้น และโอกาสทางการค้าและการลงทุนที่หลากหลายยิ่งขึ้นให้กับบริษัทห้างร้านจากประเทศที่มีส่วนร่วม

บุคคลประเทศสมาชิกอาเซียนเห็นพ้องกันว่า การเริ่มดำเนินการของเขตการค้าเสรีที่ใหญ่ที่สุดในโลกครั้งนี้ จะนํามาซึ่งผลประโยชน์ที่เป็นรูปธรรมต่อบริษัทห้างร้านในประเทศของตน และจะกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศอาเซียนและเร่งกระบวนการหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวทางเศรษฐกิจของอาเซียนให้เร็วขึ้นอย่างเห็นได้ชัด รศ.ดร.อักษรศรี พานิชสาส์น อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และผู้เชี่ยวชาญเศรษฐกิจจีนให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวสถานีวิทยุโทรทัศน์กลางแห่งประเทศจีน(CMG)ว่า  เชื่อว่า RCEP จะช่วยส่งเสริมการส่งออกและการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของไทย

บทวิเคราะห์ : RCEP เริ่มมีผลบังคับใช้สะท้อนแนวคิดพหุภาคีนิยมและการเปิดกว้างเป็นหนทางที่ถูกต้อง

การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา(อังค์ถัด)คาดว่า อัตราภาษีศุลกากรที่ต่ำจะกระตุ้นการค้าประมาณ 17,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯระหว่างประเทศภาคีสมาชิก RCEP ทั้งยังจะ"ทำให้เกิดศูนย์กลางสำคัญแห่งใหม่ของการค้าโลก"

กล่าวสําหรับประเทศจีนแล้ว การที่ RCEP มีผลบังคับใช้นั้นถือเป็น "ป้ายบอกระยะทางใหม่" แห่งการเปิดประเทศ ทั้งยังถือเป็นการปฏิบัติตามคํามั่นสัญญาอันแน่วแน่ในการเปิดประเทศอย่างต่อเนื่องด้วย ซึ่งจะทําให้จีนก้าวหน้าไปอีกระดับบนหนทางแห่งการเปิดประเทศเชิงระบบ และกลายเป็นสะพานเชื่อมการหมุนเวียนภายในประเทศกับการหมุนเวียนระหว่างประเทศ

ทางการจีนแสดงว่าในอนาคตจีนจะใช้ประโยชน์ความได้เปรียบจากตลาดที่มีขนาดใหญ่เป็นพิเศษและศักยภาพอุปสงค์ภายในประเทศให้ดียิ่งขึ้น และร่วมกับบรรดาหุ้นส่วนในภูมิภาคทำ"เค้ก"เศรษฐกิจและการค้าในภูมิภาคให้มีขนาดใหญ่ยิ่งขึ้น รวมทั้งให้บริษัทห้างร้านจำนวนมากยิ่งขึ้นได้มีโอกาสแบ่งปันโอกาสทางการตลาดของจีน และให้ผู้บริโภคจำนวนมากยิ่งขึ้นได้รับประโยชน์ที่เป็นรูปธรรม เพื่ออัดฉีดพลังชีวิตและพลังขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่องแก่การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของโลก

YIM/LU

  • เสียงข่าวประจำวัน (28-03-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (28-03-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (28-03-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (27-03-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (27-03-2567)

陸永江