สัมภาษณ์พิเศษ: คุยกับวิกรม ตอนที่3:หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางกับคนอาเซียน
  2017-06-30 21:33:01  cri

ผู้สื่อข่าว CRI: เมื่อประมาณ 3-4 ปีที่แล้ว ท่านสีจิ้นผิงได้เสนอความคิดที่ชื่อ one belt one road ท่านคิดว่าความคิดนี้จะมีส่วนช่วยคนไทยหรือคนในอาเซียนได้รับประโยชน์อย่างไรบ้างคะ

คุณวิกรม: อย่างเมื่อสักครู่ที่เอ่ยมาแล้ว ภูมิศาสตร์ ในone belt one road ก็จะมาขยายธุรกิจของจีนที่ต้องการเติบโตทางด้านจีดีพียกระดับประมาณ 6-7 % ต่อเนื่อง ผมเชื่อว่า one belt one road จะต่อยอดสิ่งที่ผลิตในประเทศจีน ผมคิดว่าจีนในวันนี้มีเงื่อนไขอยู่อย่างหนึ่งคือว่า เขาสามารถขายทุกสิ่งทุกอย่างที่เขาผลิตได้และในขณะเดียวกันเขาก็สามารถชื้อทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นวัตถุดิบได้ทั่วโลก

การที่มี one belt one road จะทำให้จีนขายสินค้าของจีนที่เมื่อกี้ที่ว่าไปสู่ตลาดที่ยังไม่ค่อยเปิดตลาดเท่าไหร่ เช่น เอเชียกลาง เอเชียกลางจะเป็นตลาดที่ใหญ่มากของจีน ฉะนั้นผมคิดว่าการที่จีนทำอย่างนี้ได้ก็จะทำให้กำลังชื้อของจีนเติบโตแล้วก็มีความเข้มแข็ง ฉะนั้นประเทศไทยซึ่งเราอยู่ตอนใต้ของจีนแล้วก็มีพื้นที่ต่อจากจีนโดยผ่านแค่ลาว ผมว่าตรงนี้เราควรจะต้องมาดูซิว่าเราจะต้องขยายธุรกิจอะไร จากที่เราผลิตอะไรเราก็ขายจีนได้หมดจีนผลิตอะไรเราก็ชื้อได้ทั้งหมดบวกกับเงื่อนไขตรงนี้

เราต้องเข้าใจว่าตลาดยุโรปตลาดอเมริกาเขามีหนี้สินทางด้านที่เขาเรียกว่าหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้น แล้วตอนนี้มันก็จะพอๆกับจีดีพีของเขาแล้ว ฉะนั้นกำลังชื้อมันก็จะลดลงๆไปเรื่อย ยกตัวอย่างอย่างในอดีต ไม่ว่าจะญี่ปุ่น อเมริกา ยุโรป สามประเทศนี้จะนำเข้าสินค้าจากประเทศไทยเฉลี่ยแล้วประมาณ 20% ของยอดส่งออก แต่ตอนนี้มันตกๆลงมาเกือบครึ่งหนึ่งละ

ในขณะที่ประเทศไทยก็ต้องการเติบโตด้านการส่งออก แต่จีนก็เติบโต (เช่นกัน) เรามี FTA ระหว่างอาเซียนกับจีน เราก็ใช้ FTA ขยายธุรกิจ ธุรกิจของจีนกับอาเซียนมันเติบโตเกือบ 10 % ตรงนี้เราก็จะมามองว่าคนที่จะมาทดแทนสิ่งที่เราขาดก็คือยุโรป อเมริกา ญี่ปุ่น ก็คือประเทศจีน

นักธุรกิจไทยต้องใช้โอกาสตัวนี้ อันแรกโดยที่ใช้โครงสร้างของ one belt one road โดยปี 2013 one belt one road โดย "คุนม่านกงลู่" (昆曼公路)เขามีถนนผ่านห้วยทราย เชียงของของเราที่สะพาน R3A สมเด็จพระเทพฯก็ไปเปิดงาน ซึ่งตรงนั้นสะท้อนให้เราเห็นว่าถนนโดยคนจีนสามารถลงใต้ขับรถเข้ามาสู่ประเทศไทยเข้าไปสู่อาเซียนได้หมดแล้วเห็นไหม อันที่สองเรื่องทางรถไฟ ผมก็เพิ่งไปประเทศลาวมาผมนั่งฮอฯ (เฮลิคอปเตอร์) ออกจากเวียงจันทน์ขึ้นไปเกือบชายแดนของจีนเมื่อวันศุกร์ที่แล้ว ผมก็นั่งฮอฯออกจากเวียงจันทน์ไปดูเส้นทางของเขา ตอนนี้ทางวิศวกรของจีนเจาะอุโมงค์ตามเขาอะไรต่างๆ ผมเห็นตั้งสิบกว่าอุโมงค์ เราก็บินไปตามเส้นนี้ไป เราก็เห็นเลยว่าการก่อสร้างของจีนเนี่ยเขาก่อสร้างได้เร็วมาก ฉะนั้น นับก็ได้ว่าอีกประมาณห้าสิบกว่าเดือน เราจะมีรถไฟวิ่งจากทางจีนผ่านลาวเข้ามาที่ชายแดนที่หนองคายละ ตอนนี้รัฐบาลไทยก็น่าจะกำลังสรุปเส้นทางตรงนี้ภายในอีกไม่นานนี้ ฉะนั้นถ้าเกิดต่อกันได้แล้วผ่านไทย มาเลเชียกับสิงคโปร์เขาก็กำลังคุยกัน

ตรงนี้ผมเห็นเลยว่านโยบาย one belt one road ของท่านประธานนาธิบดีสีจิ้นผิง อันนี้มันเป็นรูปธรรม เพราะว่า 1. เค้ามีนโยบายเค้ามีเป้าหมายที่เด่นชัด 2 . เขามีงบประมาณเยอะแยะมหาศาลเลยตั้ง1.4 ล้านล้านเหรียญบวกกับ AIIB มีเงินกู้ให้อีก1แสนล้านล้านเหรียญก็เป็น 1.5 ล้านล้านเหรียญ นั้นเงินทุน มีเป้าหมายมีแล้วก็โอกาสมี

โอกาสก็คือสิ่งที่มันต่อจากประเทศจีนลงใต้ อาเซียนจะเป็นฐานที่ประเทศจีนให้ความสำคัญมากๆฉะนั้นสิ่งเหล่านี้มันจะต้องเกิดและมันก็เกิดขึ้นแล้ว เพียงแต่ว่าจะต้องให้เวลาเขาว่าอีกไม่นานก็จะจบ ฉะนั้นคนไทยล่ะ คนในCLMVTล่ะ เราจะใช้โอกาสอย่างนี้ต่อยอดธุรกิจที่เราว่าเมื่อกี้ให้มันมากได้อย่างไร ผมเชื่อว่าจีนไม่มาทำแค่ธุรกิจแต่จีนกำลังมาลงทุนหลายๆอย่างในภูมิภาคนี้ที่จีนมีตลาดเพราะว่าจีนตลาดใหญ่มากจีนเขามียอดนำเข้าหรือส่งออกหรือที่เรียกว่า Total trade เนี่ยะตอนนี้ประมาณ 4.4 ล้านล้านเหรียญ ใหญ่กว่าอเมริกา 10% ฉะนั้นตรงนี้มันเป็นกำลังสำคัญในการที่จะสั่งชื้อสินค้า ทำธุรกิจหรือลงทุน เอาสินค้าในภูมิภาคส่งกลับไปขายในตลาดจีน เพราะจีนเขามีตลาดคนที่เขาทำธุรกิจในจีนเขาก็จะรู้ว่าเขาต้องการอะไร เขาก็จะสามารถมาผลิตสินค้าในอาเซียนแล้วก็เอาสินค้านั้นส่งกลับบ้านเขา อันนี้จะเป็นการเสริมสร้างธุรกิจในอาเซียนโดยเฉพาะ CLMVT อย่างมากๆเลย

ผมก็เชื่อว่าการที่ประธานาธิบดีสีจิ้นผิงมีนโยบายแบบนี้บวกกับอาเซียนมีเงื่อนไปแบบนี้ คนไทยได้ประโยชน์ที่สุด เพราะว่าเราอยู่ตรงกลางแล้วก็ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับจีนมันเป็นเหมือนครอบครัวเดียวกัน เพราะว่าในประวัติศาสตร์เรา เราอ่านหนังสือในห้องเรียนมา ตั้งแต่เด็กมา ประเทศไทยกับประเทศจีนมีการเจริญสัมพันธไมตรีกันตั้งแต่สมัยสุโขทัย 8-900 ร้อยปีที่แล้ว เราส่งเครื่องบรรณาการไปจีน 4 ครั้ง จีนส่งกลับมาให้เรา 3 ครั้ง เราแสดงถึงความเป็นมิตรแล้วเราก็ไม่เคยแสดงถึงความขัดแย้งรบพุ่งหรืออะไรกันเลย ทหารไทยกับทหารจีนอยู่ในสงครามโลกครั้งทีสองก็อยู่ตรงข้ามแม่น้ำแค่นั้นเอง แต่ก็ไม่เคยรบกัน ประวัติศาสตร์ตรงนี้มันมีค่า ประวัติศาสตร์ตรงนี้มันมีความหมายมากในความเป็นพี่น้องในความเป็นครอบครัว ระหว่างไทยกับจีนที่มีพื้นที่อยู่ติดๆกัน การที่มีพื้นที่อยู่ติดๆกันตั้ง 8-900ปี แล้วไม่เคยขัดแย้งกันไม่เคยรบพุ่งกัน แสดงถึงความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งที่ดีงามอย่างเป็นฉันมิตรซึ่งหายากนะ ฉะนั้นตรงนี้ผมเชื่อมั่นว่าทั้งภูมิศาสตร์ทั้งประวัติศาสตร์แล้วก็ทั้งนักธุรกิจในประเทศไทยที่เป็นอย่างผมที่เรียกว่าชาวจีนโพ้นทะเล อันนี้เป็นโอกาสที่ดีที่เราจะใช้สิ่งที่เป็นนโยบายของจีน one belt one road มาร่วมมือกันพัฒนาอนาคตของเศรษฐกิจ

เรียบเรียงและรายงาน: อรอนงค์ อรุณเอก 林敏兒

ภาพ: พันธสัญญา โชติธนพุทธิพงษ์

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040