"การทำลายล้างที่สร้างสรรค์" มองสื่อไทยในยุคดิจิทัลเข้ามาแทนกระดาษ
  2018-01-15 20:29:33  cri

นอกจากภาระหน้าที่อันมหาศาลที่มีอยู่ของอาจารย์ก้อง กอบกิจ ประดิษฐผลพานิช ทำอยู่ ไม่ว่าจะเป็น

#คณบดี คณะนิเทศศาสตร์ ม.ธุรกิจบัณฑิตย์

#ผู้ช่วยเลขาธิการสมาคมผู้สื่อข่าวไทย-จีน

#บรรณาธิการของนิตยสาร New Silk Road

อ.ก้องยังมีบทบาทใหม่ที่เพิ่งได้รับการแต่งตั้งคือ "ที่ปรึกษาพิเศษของหนังสือพิมพ์ People's daily" โดยภาระหน้าที่ใหม่นี้สามารถนำมาต่อยอดให้กับสื่อในประเทศไทยที่ดูเหมือนว่าผู้ชมผู้ฟังกำลังหายเข้าไปอยู่ในโลก Online กันหมด

วันนี้ อ.ก้องมีนัดคุยกับรายการ On View ของช่อง China Face ทาง Youtube Channel มาดูกันว่าอาจารย์ผู้มากความสามารถท่านนี้ จะอธิบายเรื่องสื่อไทยที่เปลี่ยนไปไว้อย่างไร?

บทบาทของอาจารย์ในด้านการสื่อสารมวลชน

งานหลักเป็นคณบดีนิเทศศาสตร์ มหาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ นอกจากนี้เป็นผู้ช่วยเลขาธิการสมาคมผู้สื่อข่าวไทย-จีน ซึ่งเป็นองค์กรวิชาชีพหนึ่งที่มีผู้สื่อข่าวไทยและผู้สื่อข่าวจีนมาร่วมงานกัน ทำให้ได้รู้จักกับองค์กรสื่อทั้งหมด ทำให้พบหลายอย่างที่สามารถต่อยอดได้ สามารถช่วยกันทำงานต่างๆ ในวิถีของสื่อสารมวลชนขึ้นมาได้ อีกหนึ่งบทบาทเป็นบรรณาธิการนิตยสาร New Silk Road เป็นนิตยสารแจกฟรีเกี่ยวกับจีน-ไทย โดยพูดถึงจีนโพ้นทะเลครึ่งเล่ม คือคนจีนที่อยู่ในไทย อีกครึ่งเล่มพูดถึงเมืองจีนในปัจจุบัน เพื่อให้คนทั่วไปเข้าใจเมืองจีนได้มากขึ้น ไม่เกิดความเข้าใจผิดว่าเมืองจีนยังเป็นประเทศที่ไม่เจริญ หนังสือเล่มนี้จะนำเสนอเกี่ยวกับจีนยุคใหม่เพื่อให้เกิดมุมมองใหม่ๆ

ล่าสุดเป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาพิเศษของหนังสือพิมพ์ People's daily

ผมไปประชุม Media Cooperation Forum ที่เมืองตุนหวง ประเทศจีน ซึ่งเป็นต้นทางเส้นทางสายไหมโบราณ อยู่สุดชายแดนทะเลทรายโกบีที่จะไปทางอาหรับและยุโรป เชื่อว่าเป็นต้นทางของ Asia Silk Road คือ เส้นทางสายไหมโบราณ เมืองตุนหวงจัดการประชุมครั้งนี้เป็นสัญญาณว่าองค์กรสื่อสารมวลชนจะได้รู้จักกันอีกครั้งและได้มีความร่วมมือตามเส้นทางสายไหมนี้

เส้นทางสายไหมมี 2 ทาง คือ เส้นทางสายไหมทางบกและเส้นทางสายไหมทางทะเล ซึ่งทางทะเลประเทศไทยเกี่ยวข้องด้วย และเป็นเส้นทางที่จีนให้ความสำคัญเพื่อเชื่อมโลกเข้าด้วยกัน โดยทัพหน้าคือสื่อมวลชน ต้องทำความเข้าใจกัน เข้าใจถึงเจตจำนงที่อยากให้ทุกประเทศที่อยู่บนเส้นทางนี้มีการพัฒนา สื่อมวลชนจึงเป็นด่านหน้า เพื่อรู้จักและทำความเข้าใจ และสื่อให้ประชาชนทั้งสองประเทศเกิดความเข้าใจกันมากขึ้น

การประชุมนี้มีการเชิญผู้เชี่ยวชาญจากสื่อนานาชาติหลายประเทศ และมีการแต่งตั้งเป็นผู้เชี่ยวชาญประจำศูนย์ศึกษาสื่อนานาชาติของหนังสือพิมพ์ People's daily ซึ่งเป็นสื่อมวลชนอันดับ 1 ของจีน องค์กรนี้เป็นทัพหน้าที่ต้องการทำความเข้าใจสื่อต่างๆ ภายใต้เส้นทางสายไหม จึงเชิญผู้เชี่ยวชาญ 14 ประเทศที่อยู่บนเส้นทางสายไหมมาเป็นนักวิชาการประจำของศูนย์ศึกษาสื่อแห่งนี้ ซึ่งปีนี้ถือเป็นรุ่นแรก กำหนดการทำงานประมาณ 3 ปี

1  2  3  
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040