ระหว่างวันที่ 2-4 สิงหาคม ก่อนการประชุมอุตสาหกรรมนมโลกปี 2023 จะเริ่มต้นขึ้น ผู้สื่อข่าวสื่อจีนและต่างประเทศได้เข้าร่วมกิจกรรม "เยี่ยมชมแหล่งผลิตนมอินทรีย์ในทะเลทราย" ที่เมืองปาเยี่ยนน่าวเอ่อร์(Bayanur) เขตปกครองตนเองมองโกเลียใน ทางเหนือของจีน เห็นถึงผลสำเร็จที่น่าชื่นชมจากการยึดมั่นแนวทางปฏิบัติที่ให้ความสำคัญด้านนิเวศวิทยาและส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนแบบคาร์บอนต่ำสีเขียวของเหมิ่งหนิวกรุ๊ป(Mengniu Group) บริษัทผู้ผลิตนมรายใหญ่ของจีน
ทะเลทรายอูหลานปู้เหอ (Ulan Buh Desert) ทางตะวันตกของเขตปกครองตนเองมองโกเลียใน มีพื้นที่กว้างใหญ่ราว 10,000 ตารางกิโลเมตร ปัจจุบัน มีพื้นที่สีเขียวราว 200 ตารางกิโลเมตรแทรกตัวรวมอยู่ด้วย โดยเป็นผลสำเร็จจากความพยายามร่วม 10 ปีนับตั้งแต่ปี 2009 ของเหมิ่งหนิวกรุ๊ป ในการค้นคว้าวิจัยเพื่อปลูกพืชเลี้ยงสัตว์ในทะเลทราย
"สภาพแวดล้อมอินทรีย์ + เพาะปลูกอินทรีย์ + แปรรูปอินทรีย์ + ผลิตภัณฑ์อินทรีย์" เป็นรูปแบบอุตสาหกรรมหมุนเวียนครบวงจรภายในทะเลทรายของเหมิ่งหนิวกรุ๊ป โดยมีการสร้างโรงบำบัดน้ำเสีย 9 แห่ง เปลี่ยนมูลวัวให้กลายเป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่ไร้มลพิษช่วยเพิ่มอินทรียวัตถุในดิน “ให้พื้นที่เพาะปลูกเลี้ยงวัว และมูลวัวคืนชีวิตให้กับพื้นที่เพาะปลูก” บรรลุการเกษตรหมุนเวียนอย่างแท้จริง
ปัจจุบัน ที่นี่ได้สร้างฟาร์มปศุสัตว์ 23 แห่ง เลี้ยงวัว 110,000 ตัว ผลิตน้ำนมดิบ 600,000 ตันต่อปี กลายเป็นฐานผลิตน้ำนมดิบอินทรีย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก สร้างตัวอย่างการป้องกันทรายและการรวมกันของเศรษฐกิจหมุนเวียน ที่ได้รับเลือกให้เป็นแบบอย่าง "แผนที่เส้นทางสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนขององค์กร"